เมนู

6. อรรถกถาอุปาลิวาทสูตร1


อุปาลิวาทสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาลนฺทายํ ความว่า ณ นครมีชื่ออย่างนี้
ว่า นาลันทา เพราะกระทำนครนั้น ให้เป็นโคจรคาม บ้านสำหรับโคจร.
คำว่า ปาวาริกมฺพวเน แปลว่า สวนมะม่วงของทุสสปาวาริกเศรษฐี ได้ยิน
ว่า สวนมะม่วงนั้นเป็นสวนของปาวาริกเศรษฐีนั้น. เศรษฐีนั้นฟังพระธรรม
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเลื่อมใส สร้างวิหารอันประดับด้วยกุฏิ ที่เร้น
และมณฑปเป็นต้นในสวนนั้น แล้วมอบถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. วิหาร
นั้นจึงได้ชื่อว่า ปาวาริกัมพวัน เหมือนวิหาร ชื่อว่า ชีวกัมพวันฉะนั้น. อธิบาย
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวันนั้น.
เดียรถีย์ที่ได้ชื่ออย่างนี้ว่า ฑีฆตปัสสี เพราะเป็นผู้บำเพ็ญตบะมา
นาน.
คำว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต แปลว่า กลับจากบิณฑบาต. แท้จริง
โวหารว่า บิณฑบาต ไม่มีในลัทธิภายนอกเหมือนในพระพุทธศาสนา. คำว่า
ปญฺญเปติ แปลว่า แสดงตั้งไว้. ฑีฆตปสสีเดียรถีย์ถามตามลัทธินิครนถ์
จึงกล่าวคำนี้ว่า ทณฺฑานิ ปญฺญเปติ. ในคำนี้ว่า กายทณฺฑํ วจีทณฺฑํ
มโนทณฺฑํ พวกนิครนถ์บัญญัติ 2 ทัณฑะเบื้องต้นว่า เล็กน้อย ว่าไม่มีจิต
เขาว่า เมื่อลมพัด กิ่งไม้ก็ไหว น้ำก็กระเพื่อม เพราะกิ่งไม้และน้ำนั้นไม่
มีจิตฉันใด แม้กายทัณฑะก็ไม่มีจิตฉันนั้น. อนึ่ง เมื่อลมพัดกิ่งไม้มีใบตาล
เป็นต้น จึงมีเสียง น้ำจึงมีเสียง เพราะกิ่งไม้และน้ำนั้นไม่มีจิต ฉันใด แม้

1. อรรถกถาเป็นอุปาลิสูตร

วจีทัณฑะก็ไม่มีจิตฉันนั้น พวกนิครนถ์บัญญัติทัณฑะทั้งสองนี้ว่า ไม่มีจิต
ดังกล่าวมาฉะนี้. บัญญัติว่า แต่จิตเป็นมโนทัณฑะ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้ามีพระพุทธประสงค์จะให้ทีฆตปัสสีนิครนถ์ยืนยันถ้อยคำนั้นไว้ จึงตรัสถาม
ว่า กึ ปน ตปสฺสี เป็นต้น ในพระบาลีนั้นถ้อยคำนั่นแลชื่อว่า กถาวัตถุ
ในคำที่ว่า กถาวตฺถุสฺมึ อธิบายว่า ทรงให้เขาตั้งอยู่ในถ้อยคำ.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงกระทำอย่างนี้.
ตอบว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า ฑีฆตปัสสีนิครนถ์ นี้
จักเอาถ้อยคำนี้ไปบอกนิครนถ์ใหญ่ผู้เป็นศาสดาของตนและอุบาลีคฤหบดีนั่งอยู่
ในบริษัทของนิครนถ์นั้น เขาฟังคำนี้แล้ว ก็จักมายกวาทะของเราขึ้นได้ เรา
จักแสดงธรรมแก่เขา เขาจักถึงสรณะ 3 ครั้ง แต่นั้นเราก็จักประกาศสัจจะ 4
ด้วยอำนาจการประกาศสัจจะ เขาก็จักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. แท้จริง เรา
บำเพ็ญบารมีทั้งหลายก็เพื่อสงเคราะห์บุคคลอื่น ๆ เท่านั้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงเห็นประโยชน์ข้อนี้ จึงได้ทรงกระทำอย่างนี้.
นิครนถ์ ถาม ตาม ลัทธิของ พระพุทธเจ้าพึง กล่าวคำนี้ ว่า กมฺมานิ
ปญฺญเปสิ. ในคำนี้ว่า กายกมฺมํ วจีกมฺมํ มโนกมฺมํ ได้แก่ เจตนา 20 คือ
คือเจตนาฝ่ายกามาวจรกุคล 8 เจตนาฝ่ายอกุศล 12 ที่ถึงการยึดถือ การรับ
การปล่อย และการเคลื่อนไหวในกายทวาร ชื่อว่า กายกรรม. เจตนา 20
นั้นแล ที่ไม่ถึงการยึดถือเป็นต้นในกายทวาร ที่ให้ถึงการเปล่งวาจาเกิดขึ้นใน
วจีทวาร ชื่อว่า วจีกรรม. เจตนาฝ่ายกุศลและอกุศล 29 ที่ไม่ถึงความไหว
ในทวารทั้งสองที่เกิดขึ้นในมโนทวารชื่อว่า มโนกรรม.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยสังเขป กายทุจริต 3 ชื่อว่า กายกรรม, วจี-
ทุจริต 4 ชื่อว่า วจีกรรม, มโนทุจริต 3 ชื่อว่า มโนกรรม. แต่ในพระสูตรนี้

กรรม ชื่อว่า ธุระ. เจตนา แม้ที่จะถึงในพระสูตรลำดับต่อไป อย่างนี้ว่า
บุญกรรม 4 เหล่านี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองประกาศแล้ว ชื่อว่า
ธุระ. เจตนาที่เป็นไปในกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ มีประเภทเช่น กรรมดำ
มีวิบากดำ เป็นต้น. แม้ในนิทเทสวารแห่งกรรมนั้น ท่านก็กล่าวเจตานานั้น
ไว้โดยนัยว่า ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร พร้อมทั้งความเบียดเบียน ดังนี้เป็นต้น.
ส่วนเจตนาที่เป็นไปในกายทวาร ท่านหมายเอาว่ากายกรรมในสูตรนี้. เจตนาที่
เป็นไปในวจีทวาร เป็นวจีกรรม. เจตนาที่เป็นไปในมโนทวารเป็นมโนกรรม
เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า กรรม ในพระสูตรนี้ชื่อว่า ธุระ, เจตนาในพระ
สูตรลำดับต่อไป ก็ชื่อว่า ธุระ. แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติกรรม
ว่ากรรม เหมือนอย่าง แม้เจตนาในพระสูตรนี้นี่แล ก็ชื่อว่า กรรมเหมือน
กัน. สมดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนา
ว่ากรรม เพราะคนคิดแล้วจึงทำกรรม.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียก เจตนาว่ากรรม.
ตอบว่า เพราะกรรมมีเจตนาเป็นมูล.
ก็ในอกุศลและกุศลทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสกายกรรม
วจีกรรม ที่ถึงอกุศลว่าเป็นใหญ่ ดังนี้ ย่อมไม่ลำบาก ตรัสมโนกรรมฝ่ายกุศล
ว่า เป็นใหญ่ ดังนี้ ก็ไม่ลำบาก จริงอย่างนั้น บุคคลพยายามด้วยกายอย่าง
เดียวกระทำกรรม 4 (อนันตริยกรรม) มีมาตุฆาตเป็นต้น ก็ด้วยกายเท่านั้น
บุคคลกระทำกรรมคือ สังฆเภท (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน) อันจะยังผลให้บุคคล
ตั้งอยู่ในนรกถึงกัปหนึ่ง ก็ด้วยวจีทวาร ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
กายกรรม วจีกรรม ฝ่ายอกุศลว่าเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า ไม่ลำบาก. ส่วนเจตนา
ในฌานอย่างเดียวย่อมนำสวรรค์สมบัติมาให้ถึง 84,000 กัป เจตนาในมรรค
อย่างเดียวเพิกถอนอกุศลทุกอย่างย่อมถือเอาพระอรหัตได้ ดังนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเมื่อตรัสมโนกรรมฝ่ายกุศลว่าใหญ่ จึงชื่อว่าไม่ลำบาก. แต่ในที่นี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสมโนกรรมฝ่ายอกุศลว่า มีโทษมากจึงตรัสหมายถึงนิยต-
มิจฉาทิฏฐิ. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามองไม่เห็น
ธรรมอย่างหนึ่ง อันอื่นที่มีโทษมาก เหมือน
อย่างมิจฉาทิฏฐิเลย กระบวนโทษทั้งหลาย
มิจฉาทิฏฐิมีโทษอย่างยิ่ง.

บัดนี้ แม้นิครนถ์ เมื่อจะเดินทางที่พระตถาคตเจ้าทรงดำเนินแล้ว
ถึงมองไม่เห็นความสำเร็จประโยชน์อะไร ก็ทูลถามว่า กึ ปนาวุโส โคตม
ดังนี้เป็นต้น . คำว่า พาลกิมิยา ความว่า บ้านชื่อว่าพาลกคามของอุบาลีคฤหบดี
มีอยู่. คนทั้งหลาย ยึดถือนิครนถ์ผู้ใดมาแต่บ้านนั้น นิครนถ์ผู้นั้นถูกบริษัท
นั้นห้อมล้อมด้วยคิดว่า พวกเราจักเยี่ยมเยียนนิครนถ์ใหญ่ผู้เป็นศาสดาของพวก
เราในหมู่นั้นก็ไปที่พาลกคามนั้น ท่านหมายถึงพาลกคามนั้น จึงกล่าวว่า พาล-
กิมิยา ปริสาย.
อธิบายว่า อันบริษัทผู้อาศัยอยู่ในพาลกคาม. คำว่า อุปาลิปฺ-
ปมุขาย
แปลว่า มีอุบาลีคฤหบดีเป็นหัวหน้า. อีกนัยหนึ่งคำว่า พาลกิมิยา
แปลว่า ผู้โง่เขลา อธิบายว่าหนาแน่น. คำว่า อุปาลิปฺปมุขาย ความว่า
ในบริษัทนั้น อุบาลีคฤหบดีเท่านั้นเป็นคนมีปัญญาอยู่หน่อย อุบายลีคฤหบดี
นั้นเป็นประมุข คือหัวหน้าของคนเหล่านั้น แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า อุปาลิปฺปมุขาย. ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า กล่าว
เชิญ. ศัพท์ว่า ฉโว แปลว่า ทราม. ศัพท์ว่า โอฬาริกสฺส แปลว่า
ใหญ่. ศัพท์ว่า อุปนิธาย แปลว่า ยกขึ้นมา ท่านอธิบายไว้ว่า นิครนถ์
แสดงว่า กายทัณฑะที่ยกขึ้นมามองเห็นได้อย่างนี้ว่า กายทัณฑะนี้หนอใหญ่

กายทัณฑะเป็นใหญ่ มโนทัณฑะต่ำ จะงามอะไร จักงามแต่ไหน ไม่งามเลย
แม้เพียงแต่ยกขึ้นมาก็ไม่เพียงพอ.
คำว่า สาธุ สาธุ ภนฺเต ตปสฺสึ ความว่า อุบาลีคฤหบดีเมื่อให้
สาธุการแก่ตปัสสีนิครนถ์ ก็เรียกศาสดานาฎบุตรว่า ภนฺเต. บทว่า น โข เมตํ
ภนฺเต รุจฺจต
ความว่า ฑีฆตปัสสีนิครนถ์ คัดค้านว่า ท่านเจ้าข้า ข้อนี้
จะให้อุบาลีคฤหบดีไปโต้วาทะกับพระสมณโคดมนั้น ไม่ชอบใจข้าพเจ้าเสียเลย.
ศัพท์ว่า มายาวี แปลว่า ผู้ทำกลลวง (นักเล่นกล). ศัพท์ว่า อาวฏฺฏนิมายํ
แปลว่า มายาคือการกลับใจ. ศัพท์ว่า อาวฏฺเฏติ แปลว่า ลวง ล้อมจับไว้.
คำว่า คจฺฉ ตฺวํ คหปติ ความว่า เหตุไรนิครนถ์ใหญ่จะส่งอุบาลีคฤหบดี
ไปถึง 3 ครั้ง ส่วนฑีฆตปัสสีนิครนถ์ก็คัดค้านทุกครั้ง ก็เพราะว่า นิครนถ์
ใหญ่ถึงจะอาศัยอยู่นครเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ไม่เคยเห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า. ด้วยว่า ผู้ใดย่อมปฏิญาณตนด้วยวาทะว่า เป็นศาสดา ผู้นั้นยัง
ไม่ละปฏิญาณนั้น ก็ไม่สมควรเห็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น นิครนถ์นาฎบุตร
นั้น ไม่รู้ถึงสมบัติ คือ การเห็นและภาวะคือกถาที่แสดงนิยยานิกธรรมของพระ-
ทศพลเจ้า เพราะไม่เคยได้เห็นพระพุทธเจ้า จึงยืนยันจะส่งอุบาลีคฤหบดีไป
ถึง 3 ครั้ง. ส่วนฑีฆตปัสสีนิครนถ์ บางครั้งบางคราว เข้าเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ยืนบ้าง นั่งบ้าง ถามปัญหาบ้าง เขารู้ถึงสมบัติคือการเห็นบ้าง ภาวะ
คือกถาแสดงนิยยานิกธรรมบ้าง ของพระตถาคตเจ้า. ครั้งนั้น เขาจึงวิตกว่า
อุบาลีนี้ เป็นคฤหบดีผู้บัณฑิต ไปสำนักพระสมณโคดมแล้วก็จะพึงเลื่อมใส
เพราะเห็นบ้าง เลื่อมใสเพราะพึงกถาแสดงนิยยานิกธรรมบ้าง ดังนั้น อุบาลี
ก็จะไม่พึงกลับมาสำนักของพวกเราอีกเลย. เพราะฉะนั้น เขาจึงคัดค้านถึง 3

ครั้ง เหมือนกัน. ศัพท์ว่า อภิวาเทตฺวา แปลว่า ไหว้. ความจริง คน
ทั้งหลาย เห็นพระตถาคตเจ้าแล้ว ทั้งผู้ที่เลื่อมใส ทั้งผู้ที่ไม่เลื่อมใส ส่วนมาก
ไหว้กันทั้งนั้น ผู้ไม่ไหว้มีเป็นส่วนน้อย เพราะเหตุอะไร คนที่เกิดในตระกูล
อันสูงยิ่ง แม้ครองเรือนก็ไหว้กันทั้งนั้น. ส่วนคฤหบดีผู้นี้ ไหว้เพราะเป็น
คนเลื่อมใส เขาว่าพอเห็นเข้าเท่านั้น ก็เลื่อมใสเสียแล้ว. คำว่า อาตมา
นุขฺวิธ แยกสนธิเป็น อาคมา นุ โข อิธ. คำว่า สาธุ สาธุ
ภนฺเต ตปสฺส ความว่า อุบาลีคฤหบดี เมื่อจะให้สาธุการแก่ฑีฆตปัสสี
นิครนถ์ ก็เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภนฺเต. คำว่า สจฺเจ ปติฏฺฐาย
ความว่า ตั้งอยู่ในวจีสัตย์ไม่สั่นคลอนเหมือนหลักที่ปักลงในกองแกลบ. คำว่า
สิยา โน แปลว่า พึงมีแก่พวกเรา. ศัพท์ว่า อิธ แปลว่า ในโลกนี้.
ศัพท์ว่า อสฺส แปลว่า พึงมี. คำว่า สีโตทกํ ปฏิกฺขิตฺโต ความว่า
นิครนถ์ห้ามน้ำเย็นด้วยเข้าใจว่า มีตัวสัตว์. คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงน้ำที่มีตัว
สัตว์.
คำว่า มโนสตฺตา นาม เทวา ความว่า เทพทั้งหลาย ผู้ติด ผู้ข้อง
ผู้เกี่ยวข้องแล้วในใจ. คำว่า มโนปฏิพนฺโธ ความว่า อุบาลีคฤหบดีแสดงว่า
บุคคลผู้ติดพันอยู่ในใจย่อมกระทำกาละ (ตาย) เพราะเหตุนั้น เขาจึงเกิดในเทพ
เหล่ามโนสัตว์. แท้จริง โรคที่เกิดแต่จิตจักมีแก่เขา เพราะเหตุนั้น การดื่ม
น้ำร้อน หรือนำน้ำร้อนเข้าไป เพื่อประโยชน์แก่การล้างมือและเท้าเป็นต้นหรือ
เพื่อประโยชน์แก่การรดอาบตนเองและคนอื่น จึงไม่ควรแก่เขาโรคจะกำเริบ.
น้ำเย็นจึงควร ระงับโรคได้. ก็นิครนถ์นี้เสพแต่น้ำร้อนเท่านั้น เมื่อไม่ได้น้ำร้อน
ก็เสพแต่น้ำข้าวและน้ำผักดองแทน เขาต้องการดื่ม และต้องการบริโภคน้ำเย็น
นั้นแม้ด้วยจิต เพราะเหตุนั้น มโนทัณฑะของเขาจึงแตก เพราะไม่ได้ดื่ม และ
บริโภคน้ำเย็นนั้น เขาไม่อาจจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะรักษากายทัณฑะและวจีทัณฑะ

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าต้องการดื่ม หรือต้องการบริโภคน้ำเย็น ขอท่านโปรด
ให้แต่น้ำเย็นเท่านั้นเถิด. กายทัณฑะและวจีทัณฑะของเขาแม้รักษาไว้อย่างนี้ ก็
ไม่สามารถจะชักจุติและปฏิสนธิได้. ส่วนมโนทัณฑะ แม้แตกไปแล้วก็ยังชักจุติ
และปฏิสนธิได้อยู่นั่นเอง ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะเขาว่า กายทัณฑะ
และวจีทัณฑะ ต่ำ ทราม มีกำลังอ่อน มโนทัณฑะ กำลังใหญ่ แม้อุบาสกนั้น
ก็วิตกว่าเขากำหนดด้วยอำนาจ. คำถามว่า ก็อัสสาสะและปัสสาสะของอสัญญี-
สัตว์ย่อมเป็นไปไม่ได้ แม้ทั้ง 7 วัน แต่อสัญญีสัตว์เหล่านั้นเขาไม่เรียกว่าตาย
เพราะเพียงมีแต่ความเป็นไปแห่งสันตติของจิตเท่านั้น เมื่อใดจิตของอสัญญี-
สัตว์เหล่านั้นไม่เป็นไป เมื่อนั้นจึงตาย. จะถึงความเป็นผู้ที่เขาควรกล่าวว่า
จงนำสัตว์เหล่านั้นไปเผาเสีย กายทัณฑะ ปราศจากการไป ไม่ขวนขวาย
วจีทัณฑะก็เหมือนกัน แต่สัตว์เหล่านั้นยังจุติบ้าง ปฏิสนธิบ้าง ก็ด้วยจิตอย่าง
เดียว แม้เพราะเหตุนี้ มโนทัณฑะจึงใหญ่ มโนทัณฑะเท่านั้นชื่อว่าใหญ่ ก็เพราะ
จิตแม้แตกไปแล้ว ก็ยังชักจุติและปฏิสนธิได้ ส่วนถ้อยคำของนิครนถ์ใหญ่ศาสดา
ของเรา เป็นถ้อยคำที่ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้จริง. แต่อุบาลีคฤหบดีนั้นต้อง
การจะฟังปัญหาปฏิภาณอันวิจิตร ของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่คล้อยตามเสีย
ก่อน. คำว่า น โข เตสนฺธิยติ แปลว่า คำของท่านไม่เชื่อมกัน. คำว่า
ปุริเมน วา ปจฺฉิมํ ความว่า คำนี้ว่า มโนทัณฑะใหญ่ ณ บัดนี้ กับคำ
ก่อนที่ว่า กายทัณฑะใหญ่ไม่เชื่อมกัน. คำว่า ปจฺฉิเมน วา ปุริมํ ความว่า
คำก่อนโน้นกับคำหลังไม่เชื่อมกัน.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเหตุแม้อย่างอื่นๆ มาแก่อุบาลีคฤหบดี
นั้น จึงตรัสถามว่า ตํ กึ มญฺญสิ เป็นต้น . ในคำเหล่านั้นคำว่า จตุยามสํวร-
สํวุโต
ความว่า ผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวม 4 ส่วน คือไม่ฆ่าสัตว์เอง ไม่

ใช้ให้เขาฆ่าสัตว์ ไม่ชอบใจต่อผู้ฆ่าสัตว์ส่วนหนึ่ง ไม่ลักทรัพย์เอง ไม่ใช้ให้
เขาลักทรัพย์ ไม่ชอบใจต่อผู้ลักทรัพย์ส่วนหนึ่ง ไม่พูดเท็จเอง ไม่ใช้ให้เขาพูด
เท็จ ไม่ชอบใจต่อผู้พูดเท็จส่วนหนึ่ง ไม่หวังกามคุณเอง ไม่ใช้ให้เขาหวังใน
กามคุณ ไม่ชอบใจต่อผู้หวังกามคุณส่วนหนึ่ง. ในคำเหล่านั้น คำว่า ภาวิตํ
เขาหมายความว่า กามคุณ 5 . คำว่า สพฺพวาริวาริโต แปลว่า ห้ามน้ำทิ้ง
หมด อธิบายว่าน้ำเย็นทั้งหมดเขาห้าม. เป็นความจริง นิครนถ์นั้นสำคัญว่า
มีตัวสัตว์ในน้ำเย็น เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่ใช้น้ำเย็น. อีกนัยหนึ่ง คำว่า
สพฺพวาริวาริโต หมายความว่า ห้ามบาป ด้วยการเว้นบาปทั้งหมด. คำว่า
สพฺพวารุยุตฺโต หมายความว่า ประกอบด้วยการห้ามบาปทั้งหมด. คำว่า
สพฺพวาริธุโต หมายความว่า กำจัดบาปด้วยการเว้นบาปนั้นหมด. คำว่า
สพฺพวาริผุโฏ1 หมายความว่า ถูกต้องด้วยการห้ามบาปทั้งหมด. คำว่า ขุทฺทเก
ปาเณ สํฆาตํ อาปาเทติ
ความว่า ทำสัตว์เล็ก ๆ ให้ถึงฆาต.
เขาว่า นิครนถ์นั้น บัญญัติสัตว์มีอินทรีย์เดียวว่า ปาณะ (สัตว์มีชีวิต)
บัญญัติสัตว์มี 2 อินทรีย์ว่า ปาณะ บัญญัติแม้ใบไม้แห้ง ใบไม้เก่า ๆ ก้อน
กรวด กระเบื้องแตกว่า ปาณะ ทั้งนั้น. ในปาณะเหล่านั้น เขาสำคัญว่า
หยาดน้ำน้อย ๆ ก็ใหญ่ ก้อนหินเล็ก ๆ ก็ใหญ่. คำนั้น ท่านกล่าวหมายถึง
ข้อนั้น. คำว่า กสฺมึ ปญฺญเปติ ความว่า บัญญัติไว้ที่ส่วนนั้น คือ ส่วน
ไหน. มโนทณฺฑสฺมึ คือ ในส่วนที่เป็นมโนทัณฑะ. อุบาสกนี้เมื่อกล่าวว่า
ภนฺเต ก็กำหนดรู้ด้วยตนเองว่า นิครนถ์ใหญ่ของเราบัญญัติกรรมที่ไม่จงใจ
ทำว่ามีโทษน้อย กรรมที่จงใจว่ามีโทษมาก แล้วบัญญัติเจตนาว่า มโนฑัณฑะ
ถ้อยคำของเขา ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์จริง ส่วนถ้อยคำของพระผู้มีพระ-

1. บาลีว่า ผุฎฺโฐ.

ภาคเจ้า นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้จริง. คำว่า อิทฺธา แปลว่า มั่งคั่ง.
คำว่า ผีตา แปลว่า มั่งคั่งเหลือเกิน เหมือนดอกไม้บานสะพรั่งทั้งต้น. บทว่า
อากิณฺณมนุสฺสา แปลว่า เกลื่อนกล่นด้วยผู้คน. บทว่า ปาณา ได้แก่
สัตว์ดิรัจฉานมีช้าง ม้า เป็นต้น และมนุษย์มีหญิง ชายและทารกเป็นต้น. บทว่า
เอกมํสขลํ ได้แก่ กองเนื้อกองเดียว. บทว่า ปุญฺชํ เป็นไวพจน์ของคำว่า
เอกมํสุขลํ นั่นเอง. บทว่า อิทฺธิมา คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยอานุภาพ. บทว่า
เจโตวสปฺปตฺโต คือผู้ถึงความชำนาญในจิต. บทว่า ภสฺมํ กริสฺสามิ
แปลว่า จักกระทำให้เป็นเถ้า. บทว่า กิญฺหิ โสภติ เอกา ฉวา นาลนฺทา
ความว่า คฤหบดีนั้น แม้เมื่อกล่าวคำนี้ก็กำหนดได้ว่า ด้วยกายประโยค แม้
มนุษย์ 50 คน ก็ไม่อาจทำเมืองนาลันทาเมืองเดียวให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน
ได้ ส่วนผู้มีฤทธิ์คนเดียวก็สามารถทำเมืองนาลันทาให้เป็นเถ้าได้ด้วยความประ-
ทุษร้ายทางใจอย่างเดียวเท่านั้น. ถ้อยคำของนิครนถ์ใหญ่ของเราไม่นำสัตว์ออก
จากทุกข์ ถ้อยคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้จริง.
คำว่า อรญฺญํ อรญฺญฺภูตํ ความว่า มิให้เป็นบ้าน คือเป็นป่านั่นเอง
ชื่อว่า เกิดเป็นป่า. คำว่า อิสีนํ มโนปโทเสน ความว่า ด้วยการประทุษร้าย
ทางใจของฤาษีทั้งหลายทำให้พินาศแล้ว . รัฐทั้งหลายเหล่านั้น อันเทวดาผู้ไม่
อดกลั้นความประทุษร้ายทางใจนั้นทำให้พินาศแล้ว ก็ชาวโลกสำคัญว่าผู้มีใจ
ประทุษร้ายทำให้พินาศแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ฤาษีทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พึง
ทราบว่า เขาตั้งอยู่ ในวาทะของโลกอันนี้ จึงยกวาทะนี้ขึ้นกระทำแล้ว. ในข้อ
นั้นพึงทราบว่า ป่าทัณฑกีเป็นต้น กลายเป็นป่าดังต่อไปนี้.

เรื่องป่าทัณฑกี


เมื่อบริษัทของพระสรภังคดาบสโพธิสัตว์แผ่ขยายไพบูลย์แล้ว ดาบส
ชื่อ กีสวัจฉะ ศิษย์ของพระโพธิสัตว์ ประสงค์จะอยู่อย่างสงัด จึงละหมู่ไป
อาศัยนครชื่อ กุมภปุระ ของพระเจ้าทัณฑกี แคว้นกาลิงคะ ต่อจาก